วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของเทียนหอมสมุนไพร
การทำเทียนหอมในปัจจุบันนิยมใช้กลิ่นของหัวน้ำหอมต่างๆซึ่งทำให้ผู้จัดทำโครงงานนี้เห็นความสำคัญของการใช้กลิ่นของพืชสมุนไพรแทนการใช้น้ำหอมต่างๆจึงเรียกว่าการทำเทียนหอมสมุนไพรโดยได้ใช้สมุนไพรได้แก่ตะไคร้หอมเพื่อให้เกิดเป็นเทียนหอมกลิ่นตะไคร้หอมสมุนไพรเพราะสมุนไพรที่ได้นำมาทำนั้นกลิ่นมีประโยชน์มากมาย เช่น ตะไคร้หอมสามารถไล่ยุงให้กลิ่นที่รู้สึกสดชื่นสร้างอารมณ์มีชีวิตคำถามในการศึกษาค้นคว้าในการทำเทียนหอมสมุนไพร เทียนนอกจากจะให้แสงสว่างแล้วยังมักจะถูกนำมาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะสำหรับชาวพุทธที่ใช้เทียนในการบูชาพระและประเพณีการแห่เทียนพรรษาที่ถูกสืบทอดมาในปัจจุบันเทียนจะถูกลดความสำคัญลงเนืองจากการมีไฟฟ้าใช้และป้องกันปัญหาด้านอัคคีภัยจากการใช้งานแต่ก็ยังมีการใช้เทียนในกิจกรรมด้านต่างๆอยู่เพราะเทียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและแรงบันดาลใจแสงเทียนสามารถสะท้อนได้ถึงความอบอุ่นและความอ่อนไหวที่แสงจากดวงไฟไม่สามารถทดแทนในส่วนนี้ได้เสน่ห์ของมันอู่ที่ความวูบไหว ยามยามที่สายลมผัดผ่าน แท่งเทียนที่ถูกความร้อนหลอมละลายกลายเป็นน้ำตาเทียนที่ไหลหยดย้อยลงมาสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่เน้นการใช้ประโยชน์และความสวยงามโดยที่มีความสวยงามโดยมีกลิ่นหอมแบบสวยและอาจจะใช้ไล่ยุงหรือแมลงได้อีกด้วยทั้งนี้แล้วเทียนหอมสมุนไพรยังมีการทำเป็นธุรกิจมีการลงทุนที่น้อยกว่าแต่ได้กำไรเยอะ เนื่องจากเป็นงานใช้ฝีมือทำให้ผู้คนสนใจในตัวสินค้า ทำง่ายและตกแต่งง่าย

สมุนไพรที่นำมาทำเทียนหอมสมุนไพร
ตะไคร้
วิธีปลูก


                    1.   ขุดหลุมอีก 1 คืบมือ กว้าง 2 คืบมือ วางต้นพันธุ์แบนราบกับพื้น 1 หลุม 3 ต้น แต่ล่ะต้นเฉียงออกข้างเหมือนแฉกลงดินให้เรียบร้อย
                   2. ระยะปลูกห่าง เนื่องจากใบได้รับแสงแดดเต็มที่จะทำให้ได้ขนาดลำต้นและกอใหญ่กว่าปลูกชิดซึ่งใบชิดเกยกันทำให้ได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ 

วิธีบำรุง
1.  ให้น้ำหมักระเบิดเกิดเทิง +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละ 1 ครั้ง ให้ฮอร์โมนน้ำดำ ( เน้น แคลเซียมโบรอน) เดือนละ 1 ครั้ง โดยให้แบบสลับครั้งกัน
2.  ให้น้ำพอหน้าดินชื้น 1-2 วัน/ครั้ง
3.  ให้สารสกัดสมุนไพร 3-5 วัน/ครั้ง

วิธีเก็บเกี่ยว
เก็บขายโดยการขุดยกกอแล้วปลูกใหม่เก็บกินขุดหรือตัดต้นจากกลางกอออกด้านนอกไปเรื่อยๆจากนั้นจะแตกหนอใหม่แล้วเจริญเข้าในกลางกอแบบนี้จะทำให้กอไม่แน่น
สรรพคุณ
1.  รสอุ่น  สุมขุม  แก้หวัด ปวดศีรษะไว
2.  แก้ท้องอึดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดขับลมในลำไส้  บำรุงไฟธาตุ
3.  ทำให้เจริญอาหารแก้ปวดกระเพาะอาหารแก้ท้องเสีย
4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
5.  แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
6.  แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
มะกรูด



วิธีการปลูก
1.  ขุดหลุมกว้าง 1 คืบ ลึกประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร
                2.  รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน กรีดถุงดำออก นำต้นไม้ลงปลูก กลบดิน รดน้ำ คลุมฟาง และทำหลักปักกับต้นไม้เพื่อกันโยกเวลาลมพัด
                3.  ระยะปลูกไม่ควรติดกัน 1 เมตรโดยทั่วไปนิยมปลูกระยะชิดคือ2x2 เมตร 1 ไร่จะได้มะกรูด400ต้น
การดูแลรักษา
               1.การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ๆต้องมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นกับพืชจะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว
               2. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารได้พืชเป็นครั้งคราว อาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยชีวภาพก็ได้
สรรพคุณ
1.มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต่อต้านโรค
2. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
3. น้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลายความเครียดทำให้จิตใจสงบนิ่ง
4.ช่วยแก้ลมหน้ามืดวิงเวียนศรีษะด้วยการเปลือกมะกรูดฝานบางๆ
                5. ใบมะกรูดช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งช่วยต่อต้านมะเร็งได้เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเนต้าแคโรทีน
การทำเทียนหอม

เทียนหอมมีหลายประเภท ทั้งรูปแบบแท่ง เทียนบล็อครูปทรงต่าง ๆ เทียนในภาชนะ เทียนดอกไม้ เทียนประดิษฐ์ 
งานเทียนสามารถนำมาประดิษฐ์ตกแต่งได้หลากหลายรูปแบบ ตามไอเดียของผู้ทำ การผลิตเทียนหอม ได้จากการนำพาราฟินและส่วนผสมต่าง ๆ มาหลอมรวมกัน เติมสีสัน น้ำหอม นำมาปั้น หรือหล่อตามรูปแบบที่ต้องการ 
วัตถุดิบหลักที่สำคัญในการทำเทียนหอม ได้แก่ พาราฟิน โพลีเอสเตอร์ สเตียริคเอซิด น้ำหอม ไส้เทียน และสีผสมเทียน โดยแหล่งสั่งซื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน พาราฟินที่ดี ต้องเป็นพาราฟินที่บริสุทธิ์ เมื่อผาไหม้แล้ว ต้องไม่มีเขม่าควัน หรือกลิ่นน้ำมัน 
น้ำหอมที่ใช้สำหรับเทียนหอม ตัวน้ำหอมต้องสามารถผสมเข้ากับเทียนได้ดีไม่แยกชั้น น้ำหอมมีทั้งชนิดที่ใช้กับ เทียนหอม ธูปหอม และชนิดที่ใช้กับสปา เตาน้ำหอม ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
การผสมน้ำหอม ไม่ควรใส่ในขณะที่เทียนร้อนจัด เพราะจะทำให้กลิ่นระเหยไปหมด

ส่วนผสมการทำเทียน
สเตียริน (Stearin) คือ แว๊กซ์แข็งสีขาวใช้เป็นส่วนผสมของพาราฟีน ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มการหดตัวในการทำเทียนหล่อ ทำให้เทียนหลุดจาก พิมพ์ง่าย เทียนจะเป็นเงาและมีสีสดใส
พี.อี. (Polyester Easterien) ใช้ 5% – 10% ของน้ำหนักพาราฟินจะช่วยทำให้เทียนแข็งตัว และจุดติดไฟนานขึ้น ที่สำคัญ เมื่อจุดเทียน จะมีควันน้อย
ขี้ผึ้ง (Beeswax) คือ แว๊กซ์ทำจากธรรมชาติมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใช้ผสมกับพาราฟินประมาณ 1% เพื่อเพิ่มระยะเวลาผาไหม้ของเทียน และช่วยทำให้สีของเทียนสดขึ้น
 สี ช่วยทำให้เทียนมีสีสวยน่าใช้ การใช้แผ่นสีเทียนช่วยให้สะดวกในการผสมสีเข้ากับเทียน หากใส่สีมาก สีจะเข้มมาก
หัวน้ำหอม ช่วยทำให้เทียนมีกลิ่นหอมน่าใช้ มีหลายกลิ่นให้เลือกใช้ เช่นกลิ่นกุหลาบ ส้ม สตรอเบอร์รี มะลิ ลาเวนเดอร์ กำยาน ฯลฯ เลือกใช้ได้ตาม สีของเทียนหรือโอกาส
วิธีทำ
ละลายพาราฟิน โพลี เอสเตอร์ สเตียริค ให้เข้ากันเป็นน้ำเทียนใส
ใส่สีเทียนตามสีที่ต้องการ หลังจากปิดไฟแล้วรอสักพัก จึงใส่น้ำมันหอมระเหย เทเทียนใส่ภาชนะหรือบล็อคที่ต้องการ ปักไส้เทียนตรงกลาง ถ้าเป็นบล็อค รอแห้งก็แกะออกจากบล็อคได้









วิธีการทำไส้เทียน
นำด้ายดิบ ตัดความยาวพอประมาณให้พอดึงได้ ชุบลงในน้ำเทียนที่ยังร้อน ยกขึ้นมาดึงหัว ดึงท้ายให้ตึง ตากให้แห้ง หลังจากนั้นตัดความยาวตามต้องการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น