วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

เทียนหอมสมุนไพร
เสนอ

อาจารย์ ทิพรรณ เพชรกันหา

นางสาว มลฑาทิพย์           รุ่งสันเทียะ
นางสาว กมลพรรณ              มั่นคง  
นางสาว จิราภรณ์               บรรเจิด
นางสาว ศิริประภา             วงษ์โพธิ
ทนางสาว สุภิญญา            มัธนัง
นางสาวอริสา                  คุณเเก้วอ้อม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง8
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา Is (30252)
ภาคเรียนที่ 2  ประจำปีการศึกษา 2559
โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์
อำเภอวิเชียรบุรี  จังหวัดเพชรบูรณ์ 

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทที่1
บทนำ
เรื่อง เทียนหอมสมุนไพร

ที่มาและความสำคัญ
                 เทียนหอมสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการให้แสงสว่างแต่ในระยะเวลาต่อมาทำให้มีการพัฒนา ทางด้านรูปแบบสีสันของเทียนให้มีความสวยงามมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีการดัดแปลงจากเทียนที่ให้แสวงสว่างธรรมดา มาผสมกลิ่นหอมประเภทต่างๆเพิ่มลงไปเพื่อสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับสินค้า ได้มายิ่งขึ้นโดยนำกลิ่นสมุนไพรต่างๆเช่น ตะไคร้หอม มะกรูด มะนาว อบเชย  เป็นต้น เข้ามาผสม และมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยเพิ่มขึ้นจากเดิม เพื่อประโยชน์ในการบำบัดทางด้านจิตใจและอารมณ์ของคนในสังคมในปัจจุบันที่เกิดภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ค่อนข้างสูงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในลำดับต่อมาซึ่งการนำกลิ่นหอมเข้ามาบำบัดจะทำให้สภาวะร่างกายเกิดการผ่อนคลายสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้นและบางกลิ่นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีความกระตือรือร้น 
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาถึงสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ทำเทียนหอมได้ว่ามีอะไรบ้าง
2.เพื่อศึกษาขั้นตอนในการทำเทียนหอม
3.เพื่อศึกษาประโยชน์ของเทียนหอม
สมมติฐาน
1.การทำเทียนหอมสมุนไพรทำให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้เพื่อไล่ยุ่งได้
2.เราจะได้รับกลิ่นของเทียนหอมสมุนไพรผู้ใช้ก็จะรู้สึกสดชื่นสบายเมื่อได้รับกลิ่นหอมของสมุนไพร
3.เทียนหอมสมุนไพรสามารถใช้ไล่ยุงและไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย
ขั้นตอนในการทำเทียนหอมสมุนไพร
1.การเตรียมกลิ่นน้ำสมุนไพร
        1.1 หั่นสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ
        1.2  ต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสมุนไพรแต่ละสูตรใส่หม้อคงไปต้มจนได้น้ำสมุนไพรที่เข้มข้น
        1.3  น้ำสมุนไพรที่ต้มน้ำมากรองด้วยผ้าขาวบางที่เตรียมไว้
2.การนำเทียนหอมสมุนไพร
 2.1 นำเทียนไขหั่นเป็นท่อนๆใส่ในหม้อต้มตั้งไฟด้วยความร้อนปานกลางเคี้ยวไปจนละลาย
เป็นของเหลว
3. ใส่น้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ
4.น้ำไส้เทียนใส่ในแก้วบรรจุที่เตรียมไว้แล้วหยดเทียนลงไป
5. น้ำเทียนมาตกแต่งให้สวยงาม

วัสดุอุปกรณ์ในการทำเทียนหอมสมุนไพร
ส่วนผสม
1. เทียนไข
2.ไส้เทียน
3.สีผสมอาหาร
4.น้ำสมุนไพร(มะกรูด,ตะไคร้)5.พาราฟิน
5. แม่พิมพ์
อุปกรณ์
1.หม้อ
2.แก้วบรรจุหอมสมุนไพร
3.พายสำหรับคนเทียนหอมสมุนไพร
4.ผ้ากรอง(ผ้าขาวบาง)
5. มัด
6.   กรรไกร
ประโยชน์ของเทียนหอมสมุนไพร
1.จุดเพื่อให้เกิดแสงสว่างและเพิ่มบรรยากาศ
2.ดับกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ได้
3.ใช้เป็นของชำรวยในงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน

4. จุดเพื่อไล่ยุง ใช้น้ำมันหอมกลิ่นตะไคร้หอม











บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของเทียนหอมสมุนไพร
การทำเทียนหอมในปัจจุบันนิยมใช้กลิ่นของหัวน้ำหอมต่างๆซึ่งทำให้ผู้จัดทำโครงงานนี้เห็นความสำคัญของการใช้กลิ่นของพืชสมุนไพรแทนการใช้น้ำหอมต่างๆจึงเรียกว่าการทำเทียนหอมสมุนไพรโดยได้ใช้สมุนไพรได้แก่ตะไคร้หอมเพื่อให้เกิดเป็นเทียนหอมกลิ่นตะไคร้หอมสมุนไพรเพราะสมุนไพรที่ได้นำมาทำนั้นกลิ่นมีประโยชน์มากมาย เช่น ตะไคร้หอมสามารถไล่ยุงให้กลิ่นที่รู้สึกสดชื่นสร้างอารมณ์มีชีวิตคำถามในการศึกษาค้นคว้าในการทำเทียนหอมสมุนไพร เทียนนอกจากจะให้แสงสว่างแล้วยังมักจะถูกนำมาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะสำหรับชาวพุทธที่ใช้เทียนในการบูชาพระและประเพณีการแห่เทียนพรรษาที่ถูกสืบทอดมาในปัจจุบันเทียนจะถูกลดความสำคัญลงเนืองจากการมีไฟฟ้าใช้และป้องกันปัญหาด้านอัคคีภัยจากการใช้งานแต่ก็ยังมีการใช้เทียนในกิจกรรมด้านต่างๆอยู่เพราะเทียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและแรงบันดาลใจแสงเทียนสามารถสะท้อนได้ถึงความอบอุ่นและความอ่อนไหวที่แสงจากดวงไฟไม่สามารถทดแทนในส่วนนี้ได้เสน่ห์ของมันอู่ที่ความวูบไหว ยามยามที่สายลมผัดผ่าน แท่งเทียนที่ถูกความร้อนหลอมละลายกลายเป็นน้ำตาเทียนที่ไหลหยดย้อยลงมาสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่เน้นการใช้ประโยชน์และความสวยงามโดยที่มีความสวยงามโดยมีกลิ่นหอมแบบสวยและอาจจะใช้ไล่ยุงหรือแมลงได้อีกด้วยทั้งนี้แล้วเทียนหอมสมุนไพรยังมีการทำเป็นธุรกิจมีการลงทุนที่น้อยกว่าแต่ได้กำไรเยอะ เนื่องจากเป็นงานใช้ฝีมือทำให้ผู้คนสนใจในตัวสินค้า ทำง่ายและตกแต่งง่าย

สมุนไพรที่นำมาทำเทียนหอมสมุนไพร
ตะไคร้
วิธีปลูก


                    1.   ขุดหลุมอีก 1 คืบมือ กว้าง 2 คืบมือ วางต้นพันธุ์แบนราบกับพื้น 1 หลุม 3 ต้น แต่ล่ะต้นเฉียงออกข้างเหมือนแฉกลงดินให้เรียบร้อย
                   2. ระยะปลูกห่าง เนื่องจากใบได้รับแสงแดดเต็มที่จะทำให้ได้ขนาดลำต้นและกอใหญ่กว่าปลูกชิดซึ่งใบชิดเกยกันทำให้ได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ 

วิธีบำรุง
1.  ให้น้ำหมักระเบิดเกิดเทิง +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละ 1 ครั้ง ให้ฮอร์โมนน้ำดำ ( เน้น แคลเซียมโบรอน) เดือนละ 1 ครั้ง โดยให้แบบสลับครั้งกัน
2.  ให้น้ำพอหน้าดินชื้น 1-2 วัน/ครั้ง
3.  ให้สารสกัดสมุนไพร 3-5 วัน/ครั้ง

วิธีเก็บเกี่ยว
เก็บขายโดยการขุดยกกอแล้วปลูกใหม่เก็บกินขุดหรือตัดต้นจากกลางกอออกด้านนอกไปเรื่อยๆจากนั้นจะแตกหนอใหม่แล้วเจริญเข้าในกลางกอแบบนี้จะทำให้กอไม่แน่น
สรรพคุณ
1.  รสอุ่น  สุมขุม  แก้หวัด ปวดศีรษะไว
2.  แก้ท้องอึดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดขับลมในลำไส้  บำรุงไฟธาตุ
3.  ทำให้เจริญอาหารแก้ปวดกระเพาะอาหารแก้ท้องเสีย
4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
5.  แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
6.  แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
มะกรูด



วิธีการปลูก
1.  ขุดหลุมกว้าง 1 คืบ ลึกประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร
                2.  รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน กรีดถุงดำออก นำต้นไม้ลงปลูก กลบดิน รดน้ำ คลุมฟาง และทำหลักปักกับต้นไม้เพื่อกันโยกเวลาลมพัด
                3.  ระยะปลูกไม่ควรติดกัน 1 เมตรโดยทั่วไปนิยมปลูกระยะชิดคือ2x2 เมตร 1 ไร่จะได้มะกรูด400ต้น
การดูแลรักษา
               1.การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ๆต้องมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นกับพืชจะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว
               2. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารได้พืชเป็นครั้งคราว อาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยชีวภาพก็ได้
สรรพคุณ
1.มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต่อต้านโรค
2. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
3. น้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลายความเครียดทำให้จิตใจสงบนิ่ง
4.ช่วยแก้ลมหน้ามืดวิงเวียนศรีษะด้วยการเปลือกมะกรูดฝานบางๆ
                5. ใบมะกรูดช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งช่วยต่อต้านมะเร็งได้เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเนต้าแคโรทีน
การทำเทียนหอม

เทียนหอมมีหลายประเภท ทั้งรูปแบบแท่ง เทียนบล็อครูปทรงต่าง ๆ เทียนในภาชนะ เทียนดอกไม้ เทียนประดิษฐ์ 
งานเทียนสามารถนำมาประดิษฐ์ตกแต่งได้หลากหลายรูปแบบ ตามไอเดียของผู้ทำ การผลิตเทียนหอม ได้จากการนำพาราฟินและส่วนผสมต่าง ๆ มาหลอมรวมกัน เติมสีสัน น้ำหอม นำมาปั้น หรือหล่อตามรูปแบบที่ต้องการ 
วัตถุดิบหลักที่สำคัญในการทำเทียนหอม ได้แก่ พาราฟิน โพลีเอสเตอร์ สเตียริคเอซิด น้ำหอม ไส้เทียน และสีผสมเทียน โดยแหล่งสั่งซื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน พาราฟินที่ดี ต้องเป็นพาราฟินที่บริสุทธิ์ เมื่อผาไหม้แล้ว ต้องไม่มีเขม่าควัน หรือกลิ่นน้ำมัน 
น้ำหอมที่ใช้สำหรับเทียนหอม ตัวน้ำหอมต้องสามารถผสมเข้ากับเทียนได้ดีไม่แยกชั้น น้ำหอมมีทั้งชนิดที่ใช้กับ เทียนหอม ธูปหอม และชนิดที่ใช้กับสปา เตาน้ำหอม ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
การผสมน้ำหอม ไม่ควรใส่ในขณะที่เทียนร้อนจัด เพราะจะทำให้กลิ่นระเหยไปหมด

ส่วนผสมการทำเทียน
สเตียริน (Stearin) คือ แว๊กซ์แข็งสีขาวใช้เป็นส่วนผสมของพาราฟีน ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มการหดตัวในการทำเทียนหล่อ ทำให้เทียนหลุดจาก พิมพ์ง่าย เทียนจะเป็นเงาและมีสีสดใส
พี.อี. (Polyester Easterien) ใช้ 5% – 10% ของน้ำหนักพาราฟินจะช่วยทำให้เทียนแข็งตัว และจุดติดไฟนานขึ้น ที่สำคัญ เมื่อจุดเทียน จะมีควันน้อย
ขี้ผึ้ง (Beeswax) คือ แว๊กซ์ทำจากธรรมชาติมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใช้ผสมกับพาราฟินประมาณ 1% เพื่อเพิ่มระยะเวลาผาไหม้ของเทียน และช่วยทำให้สีของเทียนสดขึ้น
 สี ช่วยทำให้เทียนมีสีสวยน่าใช้ การใช้แผ่นสีเทียนช่วยให้สะดวกในการผสมสีเข้ากับเทียน หากใส่สีมาก สีจะเข้มมาก
หัวน้ำหอม ช่วยทำให้เทียนมีกลิ่นหอมน่าใช้ มีหลายกลิ่นให้เลือกใช้ เช่นกลิ่นกุหลาบ ส้ม สตรอเบอร์รี มะลิ ลาเวนเดอร์ กำยาน ฯลฯ เลือกใช้ได้ตาม สีของเทียนหรือโอกาส
วิธีทำ
ละลายพาราฟิน โพลี เอสเตอร์ สเตียริค ให้เข้ากันเป็นน้ำเทียนใส
ใส่สีเทียนตามสีที่ต้องการ หลังจากปิดไฟแล้วรอสักพัก จึงใส่น้ำมันหอมระเหย เทเทียนใส่ภาชนะหรือบล็อคที่ต้องการ ปักไส้เทียนตรงกลาง ถ้าเป็นบล็อค รอแห้งก็แกะออกจากบล็อคได้









วิธีการทำไส้เทียน
นำด้ายดิบ ตัดความยาวพอประมาณให้พอดึงได้ ชุบลงในน้ำเทียนที่ยังร้อน ยกขึ้นมาดึงหัว ดึงท้ายให้ตึง ตากให้แห้ง หลังจากนั้นตัดความยาวตามต้องการ


วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทที่3 วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

บทที่3
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องเทียนหอมสมุนไพรผู้ดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดของเขตในการศึกษาค้นคว้าผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้กำหนดขอบเขตดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหาได้แก่
 -ประโยชน์ของเทียนหอมสมุนไพร
-เทียนหอมสมุนไพรกับกลิ่นหอมตะไคร้และมะกรูด
ขอบเขตด้านประชากร
-กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนม.5/8โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์จำนวน38คน
ขอบเขตด้านด้านระยะเวลา
-ภาคเรียนที่1ปีการศึกษา2558   
2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้เรื่องเทียนหอมสมุนไพรเพื่อเผยแพร่ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้
3.นำโครงงานฉบับร่างไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโครงสร้างหลักจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขแล้วพิมพ์เป็นฉบับจริงก่อนเผยแพร่
4. ออกสำรวจเรื่องเทียนหอมสมุนไพรโดยสอบถามผู้รู้แล้วนำไปให้ที่ปรึกษาโครงงานตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโครงสร้างหลังจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขพิมพ์เป็นฉบับจริงแล้วนำไปสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิม
5.สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นและนำเสนอโดยโปรแกรม(website blogger)



บทที่4 ผลการดำเนินงาน

บทที่4

ผลการดำเนินงาน

 จาการทำโครงงานเรื่องเทียนหอมสมุนไพรออกมานั้นเพื่อทดลองใช้แล้วผลปรากฏว่าสามารถนำไปขายได้ซึ่งถือว่าดีมีประสิทธิภาพ

สรรคุณของเทียนหอมสมุนไพร

1.เทียนหอมนั้นทำให้มีความสวยงามภายในบรรยากาศต่างๆและสามารถสร้างแสงสว่างให้แก่เราด้วยการจุดไฟ

2. สามารถใช้และประดับตกแต่งในสถานที่ต่างๆซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆที่สวยงามเป็นพิธีมงคลและสถานที่ปกติเพื่อ
ต้องความสวยงาม

3.ทำเป็นเทียนวันเกิดได้โดยเทียนเหล่านี้เป็นเทียนสวยงามรู้สึกดีกว่าการใช้เทียนแบบเดิมๆที่เป็นเทียนปกติ

4.สามารถดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้นั่นเป็นเพราะว่าเทียนหอมนั้นมีกลิ่นที่หอม

5.สามารถใช้เป็นของชำร่วยในงานเช่น งานแต่งงาน และงานบวชต่างๆ

6.สามารถจุดไล่ยุงได้ซึ่งการจุดไล่ยุงนั้นจะเป็นเทียนหอมกลิ่นตะไคร้หอม

7.การนำเทียนหอมสมุนไพรทำให้ผุ้อื่นสามารถนำไปใช้เพื่อยุงได้

8.เทียนหอมสมุนไพรสามารถใช้ยุงแลไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย






บทที่5 สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ

บทที่5
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงาน ISสื่อเพื่อการศึกษาเทียนหอมสมุนไพรสามารถสรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
              5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
             1เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับเทียนหอมสมุนไพร
              2เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประเภทของเทียนหอมสมุนไพร
              3เพื่อศึกษาสรรพคุณและโทษของเทียนหอมสมุนไพร
              4เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทียนหอมสมุนไพรให้รุ่นต่อไป
                5 เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับเทียนหอมสมุนไพรไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

5.1.2  วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำเทียนหอมสมุนไพร
 วัสดุ
           1. เทียนไข
           2. ไส้เทียน
           3. สีผสมอาหาร
           4. น้ำสมุนไพร
          5. พาราฟิน
อุปกรณ์
          1.หม้อ
          2. แก้วบรรจุภัณฑ์สมุนไพร
          3. ผ้ากรอง(ผ้าขาวบาง)
          4. พายสำหรับคนเทียนหอมสมุนไพร
           5. กรรไกร
5.2 สรุปผลการดำเนินงานจัดทำโดยโครงงาน

  การดำเนินงานโครงงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้คือเพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเทียนหอมสมุนไพรเพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของเทียนหอมสมุนไพรไทยนานาชนิด สื่อวิดิทัศน์ เพื่อการศึกษาเทียนหอมสมุนไพรจึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์เป็นการนำซอฟต์แวร์มาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพและเกิดประโยชน์